ช่วงวัย 20 ส่งผลต่อการงานและความรักมากที่สุด
“เริ่มต้นตอน 30 ก็ยังไม่สาย” หลายคนได้พูดไว้ อาจจะจริง แต่คนที่จะเริ่มต้นเมื่อ 30 นั้น เขาไม่ได้มามือเปล่า แต่ผ่านการลองผิดลองถูก ผ่านบททดสอบมาแล้ว จนได้รู้ว่าตัวเอง อยากจะเป็นและไปในทิศทางไหน ในกรณีนี้ เขาจึง เริ่มต้นช้าได้
กลับกัน การใช้ชีวิตในช่วงวัย 20 หมดไปกับการสงสัย ค้นหาตัวเอง แต่ไม่ลงมือทำ จะผ่านไปกี่ช่วงวัย เธอก็ไม่สามารถเริ่มต้นเสียที
TedTalk เมื่อปี 2013 โดย Dr. Meg Jay นักจิตวิทยา ผู้ศึกษาเกี่ยวกับช่วงวัย 20 โดยเฉพาะ และเขียนหนังสือเรื่อง “The Defining Decade” อธิบายให้เราฟังว่า วัย 20 ปีเป็นต้นไป ก่อนจะเข้าสู่วัย 30 เป็นช่วงเวลาที่ส่งผลสำคัญต่อการเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่อย่างที่เราอยากจะเป็นอย่างไร
ทำไมการ ค้นหาตัวเอง ในช่วงวัย 20 จึงสำคัญนัก
- ช่วงวัย 20 เป็นช่วงเลี้ยวหัวต่อที่สุด บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุดในช่วงนี้ เราจะเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ และเป็นผู้ใหญ่แบบไหน ก็จะได้รับผลมาจากช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหน้าที่การงาน ความรัก ความสุขในชีวิต
- ช่วงที่มีโอกาสมีบุตรมากที่สุดของผู้หญิงอยู่ที่อายุ 28 ในช่วงวัย 20 จึงเป็นเวลาที่ดีที่จะศึกษาว่าเรามีทางเลือกอะไรบ้าง ในการสร้างครอบครัวของตัวเอง
- เมื่อเข้าสู่ช่วงวัย 30 เธอต้องรับมือกับเรื่องท้าทายอีกแบบหนึ่ง หมายความว่า หากไม่รับมือกับช่วงวัย 20 เสียตั้งแต่ตอนนี้ เท่ากับว่าในวัย 30 ปัญหาทุกอย่างจะทับถมและรับมือได้ยากยิ่งขึ้น เธอต้องค้นหาตัวเอง ไปพร้อมๆ กับรับความกดดันจากความคาดหวังของคนรอบข้างว่า ควรจะเป็นผู้เป็นคนได้แล้ว
- 10 ปีแรกของการทำงานส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญ ต่อเรทเงินเดือนที่เราจะได้รับในหน้าที่การงานต่อไป
รับมือกับช่วงวัย 20 อย่างไรดีล่ะ?
- หยุดสงสัยว่าเราอยากเป็นอะไร อยากอยู่ในสายงานไหน แต่ให้ ลงมือทำ อยากทำ ทำเลย! เพื่อสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง เป็นการลงทุนด้วยประสบการณ์ชีวิต ในท้ายที่สุดเราจะค้นพบสิ่งที่เราอยากเป็น จากสิ่งที่เราทดลองทำนี่เอง เรียกว่าเปิดก่อนได้เปรียบ ในช่วงวัยที่เธอยังมีพลังกำลัง ทำให้ได้มากที่สุด เพื่อเรียนรู้ว่าสิ่งใดชอบหรือไม่ชอบ ในางกลับกัน ถ้าเจอสิ่งที่ชอบ ทำแล้วสบายใจ ก็ไม่ต้องกระวนกระวาย ทิ้งสิ่งนี้ไป เพื่อทดลองสิ่งใหม่ๆ อีก เพียงเพราะว่ามีคนบอกเธอว่า ให้ลองให้มากที่สุด!
- อย่ายึดติดอยู่กับกลุ่มเพื่อนเดิม ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยรุ่นสู่ผู้ใหญ่ที่ยากลำบากและสับสน เรามีเพื่อนจากมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนมัธยม เป็นกลุ่มเพื่อนที่เราย้อนกลับไปหาเสมอ เป็น Safe Zone ที่ทุกคนมี แม้แท้จริงแล้ว เป็นสิ่งดี แต่การยึดติดกับเพื่อนกลุ่มเดียว “มากเกินไป” ไม่มีใจจะออกไปพบเจอ กลุ่มคนใหม่ๆ บ้าง เพียงเพราะรู้สึกว่า สบายใจแล้วที่จะมีเพื่อนเพียงเท่านี้ ความคิดแบบนี้แหละ! ที่จะจำกัดสิ่งที่เราคิด ทำ เพราะการวนเวียนอยู่กับคนกลุ่มเดิม เท่ากับ Shape ความคิด สิ่งที่เรารู้ ให้จำกัดอยู่กับที่เดิม นอกจากนั้น ยังจำกัดการได้รับโอกาสอื่นๆ จากภายนอกวงสังคมเดิมด้วย
- Dr. Meg Jay กล่าวว่า โอกาสดีๆ ในหน้าที่การงาน หรือความรัก มักจะเข้าหาเราจากเครือข่ายที่ห่างไกลกว่านั้น มักจะเป็นเพื่อนของเพื่อนของเพื่อน (weak ties) การสมาคมกับสังคมอื่นจึงจำเป็น เพราะโอกาสดีๆ มักส่งต่อกันผ่าน “คนรู้จัก” ไม่ว่าจะเป็นงาน เส้นสาย หรือโอกาสอื่นๆ
- เลือกคู่ชีวิตของเธอได้แล้ว ฟังดูน่ากลัวใช่มั้ย แต่ไม่ได้หมายความว่า ให้รีบแต่งงาน ลงหลักปักฐาน ไม่ใช่ว่าเราอยากจะแต่งงานตอน 23 25 หรือ 28 เสียหน่อย จะรีบเลือกไปทำไม? แต่การเลือกใ นทีนี้คือ “ใส่ใจเรื่องความรัก ให้มากขึ้น” เพราะความรักที่ดี จะส่งผลทั้งต่อ ปัจจุบัน และอนาคตของเธอ ใสใจความรัก ในระดับที่มองว่า เป็นแค่การคบแฟนเพื่อให้หายเหงา แต่มองหาคนที่เข้ากับเธอได้ ส่งเสริมซึ่งกันและกัน เลือกอย่างระมัดระวัง เพื่อที่หาก “วันหนึ่ง” เธอตั้งใจจะมีครอบครัวในช่วงวัย 30 เธอจะได้ไม่เลือกแต่งงานกับแฟนคนล่าสุด เพียงเพราะถึงเวลาที่ต้องลงหลักปักฐานแล้ว แต่ความเป็นจริง เธอและเขา เพิ่งจะดูใจกันมาได้ไม่กี่เดือน
การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้หมายความว่า เราต้องกลายเป็นคนน่าเบื่อ ไม่ได้หมายความว่าเราจะสนุกกับชีวิตสุดเหวี่ยง อย่างที่เคยเป็นมาไม่ได้ แต่คือการจัดการกับชีวิต ให้เหมาะสมกับช่วงวัย และมีความสุขกับชีวิตได้ในทุกๆ