
Cruelty Free ข้อมูล ความจริง เบื้องลึก เบื้องหลังของประเด็น สัตว์ทดลอง
จากหนังสั้นเรื่อง
Save Ralph ของ Spencer Susser
ที่เป็นไวรัลในโลกอินเทอร์เน็ตจนเกิดเป็น #SaveRalph เพื่อปลุกกระแสเรื่องการต่อต้านการทดลองเครื่องสำอางในสัตว์กลับขึ้นมาอีกครั้ง
เป็นคลื่นลูกใหญ่ที่สร้างการถกเถียงกันจนแตกออกมาเป็นหลายเสียงมากๆ ทั้งเสียงที่ยืนเคียงข้างอิสรภาพของสัตว์โลก ทั้งเสียงที่คิดว่ามันไม่มีทางเลือกอื่นที่จะเลี่ยงการสูญเสียนี้
#ผู้หญิงสมัยนี้ เลยได้รวบรวมข้อมูล ความจริง เบื้องลึก เบื้องหลังของประเด็น “Cruelty Free” มาเล่าสู่กันฟัง แบบเข้าใจง่ายที่สุด
แล้วทำไมต้องทดลองในสัตว์
ในการผลิตสินค้าแทบทุกอย่างที่ใช้กับร่างกายของมนุษย์เราโดยตรง เช่น ยา เครื่องสำอาง หรือสกินแคร์ ทั้งหมดนี้จะต้องผ่านการทำวิจัยเพื่อทดสอบส่วนผสมต่างๆ ว่าเป็นอันตรายมั้ย โดยตัวแบรนด์ และกลุ่มนักวิจัยในยุคที่ผ่านๆ มา ก็มักจะเลือกใช้การทดลองในสัตว์ (Animal Testing) เป็นหลัก เพราะมันให้ผลลัพธ์ได้ชัดเจน และลดการทดลองกับมนุษย์จริงๆ ลง โดยในวงการบิ้วตี้จะนิยมใช้ “กระต่าย” เพราะเป็นสัตว์ที่ตัวใหญ่ที่สุดในกลุ่ม “สัตว์ทดลองขนาดเล็ก” เลยมีพื้นผิวใหญ่พอจะดูผลลัพธ์ เป็นที่มาของสัญลักษณ์ Cruelty Free ที่เราเห็นกัน
.
โดยการจะทดลองกระต่าย 1 ตัว นักวิจัยต้องทำตามขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อหาผลลัพธ์อย่างครอบคลุม หากผลิตภัณฑ์จะถูกใช้กับผิวหนังของคน
. Skin Irritation Test
: ทดสอบการระคายเคืองต่อผิว ด้วยการโกนขนที่หลังของสัตว์ แล้วทาผลิตภัณฑ์
. Phytotoxicity Test
: ทดสอบความเป็นพิษเมื่อเจอแสง ด้วยการฉายแสงลงบนพื้นผิวที่ทาผลิตภัณฑ์
. Ocular Irritation Test
: ทดสอบการระคายเคืองต่อดวงตา ด้วยการหยอดผลิตภัณฑ์ไปที่ดวงตาของสัตว์โดยตรง
. Transdermal Permeability Test
: ทดสอบความสามารถในการซึมซาบเข้าสู่ผิวหนัง ผ่านการสังเกตผิวของสัตว์ทดลอง
.
และเมื่อกระต่ายแต่ละตัวไม่สามารถรับการทดสอบได้อีกต่อไป ก็จะโดนการุณยฆาตทันที “เพื่อจบความทรมานให้ไวที่สุด”

ต้นทุนของการทดลองเพื่อผู้บริโภค
and เนื่องจากปัจจุบันมีกฏหมายควบคุมเรื่องการทดลองในสัตว์จากทั้งสหประชาติ (UN) สหภาพยุโรป (EU) รวมถึงกฏหมายเฉพาะพื้นที่ในแต่ละประเทศที่แบนการทดลองในสัตว์ไปเลยก็มี เลยไม่ใช่ว่าใครจะจับสัตว์ไปทำการทดลองในห้องแล็บก็ได้ แต่ต้องมีการขออนุญาต การควบคุมวิธีการทดสอบให้ไม่มีการทารุณ หรือทำร้ายสัตว์แบบนอกเหนือจากขอบเขตของการทดลอง แต่จะมีฟาร์มที่เพาะพันธุ์สัตว์เพื่อทำการทดลองโดยเฉพาะ
ซึ่งกระต่ายตัวนึงจะมีราคาสูงมากๆ (ระบุราคาในประเทศไทย สูงถึงหลักหมื่น) ซึ่งนี่ก็สามารถอธิบายได้ว่าทำไมสินค้าบิวตี้ Hi-End ต่างๆ ถึงมีราคาแพง ส่วนหนึ่งก็มาจากงบประมาณในการวิจัยหรือการทดลองส่วนผสมในผลิตภัณฑ์
การใช้ตราสัญลักษณ Cruelty Free เพื่อการขายบางครั้งก็เชื่อถือไม่ได้
พอเรื่องการทดลองในสัตว์ของแบรนด์ต่างๆ ถูกเปิดเผย และ Beauty Trend ที่เกี่ยวกับการรักโลก รักสัตว์ หรือ Clean Beauty ต่างๆ ก็ได้รับความสนใจมากขึ้นทำให้บางแบรนด์ใช้กระแสของความงามอย่างมีศีลธรรมนี้ในการเคลมว่าสินค้าของตัวเองเป็น CrueltyFree ทั้งที่ความจริงแล้วในขั้นตอนการผลิต ก็ทำจากงานวิจัย หรือใช้ส่วนผสมที่ซื้อมาจากที่ที่ทดลองกับสัตว์ พอเป็นแบบนี้มันจะย้อนไปสู่การสนับสนุน Animal Testing อยู่ดี
.
โดยแบรนด์ที่ทำแบบนี้จะใช้แค่คำเคลมเพื่อโฆษณา แต่ไม่มีตราสัญลักษณ์ประทับอยู่บนบรรจุภัณฑ์
ทางเลือกของผู้ผลิตและผู้บริโภค
ต้องบอกก่อนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะชี้นิ้วประนามใครไม่ได้ เพราะมันเป็นวิธีการทดลองที่ใช้มาเป็นเวลานานมาก ในหลายวงการ ทั้งวิทยาศาสตร์และการแพทย์ โดยคนที่ทำงานในสายนั้น ก็มองว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทางวิทยาการ ส่วนในมุมของผู้บริโภคเองก็มองหาสินค้าที่ปลอดภัยกับตัวเอง
.
แล้วแบบนี้ ต้องทำยังไง?
.
ในมุมการผลิต ยังมีทางเลือกอื่นอย่าง เนื้อเยื่อโปรตีนเทียม หรือเซลล์มนุษย์เพาะเลี้ยง ที่ใกล้เคียงกับผิวหนังมนุษย์ สามารถใช้แทนการทดลองในสัตว์จริงๆ ได้ แถมยังมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการลงทุนซื้อสัตว์มาทดลอง ซึ่งสมัยนี้เริ่มเป็นที่นิยมแล้ว เพราะมีแต่ได้กับได้ ได้ช่วยชีวิสัตว์ทดลอง ได้ลดทั้งต้นทุนการวิจัย ได้ทำการตลาดในนาม Cruelty Free อีกด้วย ซึ่งถ้าหากผู้ผลิตเริ่มหันมาใช้วิธีอื่นมากขึ้น การทดลองกับสัตว์ก็อาจจะลดลง จนหายไปจากวงการบิวตี้ได้ ผู้หญิงสมัยนี้ เลยหวังว่าวิธีการทดลองกับเนื้อเยื่อเทียม จะได้รับการพัฒนาจนสามารถมาแทนที่ หรือช่วยลดการทดลองกันสิ่งมีชีวิตจริงๆ ได้

วิธีการสนับสนุน Cruelty Free Beauty สำหรับผู้บริโภค
: ส่วนสิ่งที่ผู้บริโภคจะสามารถทำได้จริงๆ (ในตอนนี้) คือการเลือกสนับสนุนแบรนด์ที่มีตรา Cruelty Free, Leaping Bunny Certified, Choose CrueltyFree (CCF) หรือ Beauty Without Bunnies (PETA) เพื่อความสบายใจ หรือช่วยกันส่งต่อข้อมูลเพื่อสร้างการตระหนักรู้ทางศีลธรรม (Moral Awareness) เกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป
.
ที่มา
PETA Official Website และ งานวิจัยเรื่อง “Rabbit as an animal model for experimental research” ของสำนัก PMC US National Library of Medicine National Institutes of Health
.อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆ จากผู้หญิงสมัยนี้ :
ก า ง เกง ใน อ น า มัย : รู้ จัก PYNPY’ น วั ต ก ร ร ม ก า ง เ ก ง ใ น ที่ ใ ส่ แ ท น ผ้ า อ น า มั ย ไ ด้ เ ล ย !!
W O M A N S E X T O Y : เ ปิ ด ห น้ า ข อ ง เ ล่ น สำ ห รั บ ผู้ ห ญิ ง คิ้ ว ท์ ก ว่ า ที่ คิ ด !
3 T i p s o f S e l f – F u l f i l l ing Prophecy : เปลี่ยนความคิดให้เชื่อมั่น ตามหลัก จิตวิทยา