TOP
h

thewmtd

Gender Equality ถูกจุดประเด็นในงาน Wo=Men Summit 2019

เมื่อวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีโอกาสได้ร่วมงาน Wo=Men Summit 2019 งานประชุมกึ่งวิชาการที่เฟี๊ยซ และสนุกที่สุด จัดเต็มด้วยสปีคเกอร์ระดับ A-list ตั้งแต่ดารา คนดัง นักเคลื่อนไหวเรื่อง Gender Equality ระดับสากล ในบรรยากาศประหนึ่ง Tedtalk โดยผู้หญิง เพื่อผู้หญิง และความเท่าเทียมทางเพศ 

การประชุมครั้งน้ี ดำเนินการโดย Dragonfly องค์กรขับเคลื่อน เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ ก่อตั้งโดย คุณประนัปดา พรประภา ผู้มีความตั้งใจจะให้งาน summit ครั้งนี้ เป็นกระบอกเสียงและจุดเริ่มต้น ให้หน่วยงานเกิดการเปลี่ยนแปลง เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality) และให้บุคคลทั่วไปโดยเฉพาะผู้หญิง และเด็กสาวรุ่นใหม่ ตระหนักถึงศักยภาพของตัวเอง ในหลายประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งเราสรุปมาฝากกันวันนี้ 

dragon fly360

From Victim to Protector : การต่อสู้กับการคุกคามทางเพศในอินเดีย 

Sunitha Krishnan นักเคลื่อนไหวทางสังคมชาวอินเดีย ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร Prajwala ทำหน้าที่ช่วยเหลือ และให้พื้นที่คุ้มครองเหยื่อ จากการถูกคุกคามในอินเดีย เธอเองเป็นผู้รอดจากขบวนการค้ามนุษย์  “I choose to be survivor” เธอประกาศกร้าว

เธอเชื่อในการลุกขึ้นสู้ และเรียกร้องให้เลิกทำให้การถูกคุกคามทางเพศ กลายเป็นเรื่องปกติ เมื่อเห็น ต้องพูด 

ฟัง Sunitha Krishnan พูดใน TedTalk ได้ที่นี่

Sunitha Krishnan

Mal(e)function : ค่านิยมความเป็นชายไม่ควรมีอยู่ (Gender Equality)

พูดคุยกัน เรื่องค่านิยมเพศชาย ที่ต้องเข้มแข็ง ก้าวร้าว ไม่ยอมคน ที่เมื่อบวกกับค่านิยมสุดโต่ง ก็จะหล่อหลอมให้เกิดความรุนแรงต่อไป

สปีคเกอร์ทั้ง 4 ท่านร่วมกันพูดคุย และเปลี่ยนความคิดเห็นนประเด็นนี้ ได้แก่ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี, Robert Candelino ผู้บริหาร ยูนิลิเวอร์ ไทยเลนด์, Pascal Gerken ประธานบริษัท YPO, Renaud Meyer ผู้แทน UNPD ประจำประเทศไทย 

คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พูดถึงประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจ โดยสรุปว่า ค่านิยมความเป็นชาย ไม่ควรมีอยู่ เราควรจะเปิดกว้าง และยอมรับความแตกต่าง ผู้ชายไม่จำเป็นต้องอ่อนนุ่มอย่างผู้หญิง เพื่อทำลายค่านิยมเดิม เพียงแต่ต้องให้เกียรติกัน ปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียม 

malfunction (Gender Equality)

SheFighter : เราสอนให้ผู้หญิงสู้ เพื่อจะได้ไม่ต้องสู้อีก 

Lina Khalifeh ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนศิลปะป้องกันตัว เริ่มต้นเป็นแห่งแรกในประเทศจอร์แดน ประเทศตะวันออกกลาง ที่สิทธิและเสียงของผู้หญิงยังไม่ถูกได้ยินนัก 

Lina กล่าวโดยสรุปว่า เธอสอนให้คนต่อสู้ เพื่อจะได้ไม่ต้องต่อสู้อีก เพราะเมื่อเรารู้ว่าจะปกป้องตัวเองได้อย่างไร เราจะไม่เข้าไปอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง และยังเกิดความมั่นใจทั้งทางภาษากาย และทางจิตใจ 

lina khalifeh Gender Equality

“We teach people how to fight in order not to fight, once you learn how to fight you’ll never ever  use it and you even never get yourself in trouble. Because your body language is speaking lounder. You’ll have confidence” 

Don’t Take Your Foot Off the Paddle : ว่าด้วยกฎหมายและอิสระทางการเงินอย่างเท่าเทียม

ผู้หญิงยังคงได้รับการศึกษาน้อย ใน 44 ประเทศ ผู้หญิง 20% ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ และมีผู้หญิงเพียง 10% ได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มผู้บริหารประเทศ สิ่งเหล่านี้เอง ทำให้ผู้หญิงขาดผู้เป็นกระบอกเสียง และขาดสิทธิในหลายๆ เรื่อง 

ในขณะเดียวกัน ผู้หญิงควรจะมีอิสระทางการเงิน ได้รับเงินเดือนที่เท่าเทียม มีธุรกิจเป็นของตัวเอง หรืออย่างน้อยๆ มีบัญชีเงินฝาก เป็นของตัวเอง ซึ่งเรื่องเหล่านี้ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ในประเทศที่จำกัดสิทธิผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ให้อยู่ภายใต้สามีเท่านั้น  

การสร้างแรงบันดาลใจ หรือกระตุ้นให้ผู้หญิง เห็นศักยภาพตนเอง อาจไม่เพียงพอ เพราะในหลายประเทศ ยังมีกฏหมาย และวัฒนธรรมที่จำกัดสิทธิผู้หญิงอยู่ ดังนั้น ต้องแก้ที่กฏหมาย โดยเฉพาะกฏหมายครอบครัว 

สุดท้ายนี้ จากผู้หญิงสมัยนี้ เราเชื่อว่า ความเท่าเทียมทางเพศเ ป็นเรื่องของทุกคน ไม่ว่าชาย หญิง หรือ LGBTQ+ ทุกคนต่างมีบทบาท หน้าที่ของตัวเอง ที่จะช่วยให้ความเท่าเทียมนี้เกิดขึ้นจริงได้! 

สาวช่างฝันในวัยทเว็นตี้ซัมติง เรียนด้านเขียนอ่าน บันทึกเรื่องราวด้วยการสังเกตและบทสนทนา ชอบงานคราฟท์ ปักผ้าได้ พยายามหัดถักนิ้ตติ้งแล้วแต่ไม่สำเร็จ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save