TOP
h

thewmtd

Greta Thunburg

นักเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมอายุน้อย ชาวสวีเดน

สิ่งแวดล้อม ฝากความหวังไว้ที่คนรุ่นใหม่ หนึ่งปีที่ผ่านมาเราได้ยินชื่อ เกรต้า ธุนเบิร์ก (Greta Thunburg) หนาหูขึ้นเรื่อยๆ ผู้เป็นนักเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมชาวสวีเดน ด้วยอายุเพียง 16 ปีเท่านั้น

ท่าทางมุ่งมัน ดุดันที่ทำให้ทั้งโลกหันมามอง แต่ท่ามกลางเสียงสรรเสิญ ต่อการต่อสู้เพื่อ สิ่งแวดล้อม ของเธอ เกรต้าก็ต้องเผชิญกับกระแสตอบรับด้านลบ และคุกคามเช่นกัน มารู้จักเกรต้าให้มากขึ้น กับ 6 เหตุการณ์ที่น่าสนใจของเธอกัน

1. จาก 1 สู่ 1,000,000 ในปีเดียว 

พลังมวลชน

เรื่องทุกอย่างเริ่มจากคนเพียงคนเดียว แต่ความมุ่งมั่นและแนวทางของเธอ เรียกความสนใจกระทั่งจุดประเด็นให้เกิดการพูดถึงไปอย่างกว้างขวางด้วยเวลาอันรวดเร็ว 

เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2018 ช่วงก่อนเลือกตั้งสวีเดนไม่นาน เกรต้า ธุนเบิร์ก นักเรียนมัธยมต้น วัย 15 ปี โดดเรียนทุกวันศุกร์ นั่งประท้วงอย่างเงียบๆ หน้ารัฐสภาสวีเดน กรุงสตอล์คโฮล์ม พร้อมกับป้ายแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “School Strike for the Climate” หรือ “หยุดโรงเรียนประท้วงเพื่อสภาพอากาศ” 

“ฉันเด็กเกินไปที่จะลงคะแนนเสียง แต่กฎหมายสวีเดนกำหนดไว้ว่าฉันต้องไปโรงเรียน ฉันจึงทำแบบนี้เพื่อให้เสียงของฉันถูกรับฟัง และดึงสื่อให้หันมาสนใจเรื่องวิกฤติสภาพภูมิอากาศเสียที” 

เพียงสัปดาห์เดียว สื่อในและต่างประเทศก็เริ่มให้ความสนใจ เกิดแรงกระเพื่อมให้นักกิจกรรมทั่วโลก โดยเฉพาะในเด็กรุ่นราวคราวเดียวกับเกรต้า เริ่มตอบสนอง กระทั้งเกิดเป็นมูฟเม้นท์ Friday for Future  ที่นักเรียนจากหลายประเทศทั่วโลก จะหยุดโดดเรียนวันศุกร์เดินประท้วงเพื่อสิ่งแวดล้อม 

2. ไม่นั่งเครื่องบินเพื่อ สิ่งแวดล้อม

เครื่องบินทำลายสิ่งแวดล้อม

เกรต้าพยายามใช้ชีวิตแบบ Carbon Footprint Free คือการไม่อุปโภคบริโภคสินค้าหรือบริการที่ทำลายสิ่งแวดล้อม หนึ่งในนั้นคือการ “ไม่นั่งเครื่องบิน” ซึ่งถ้ารวมๆ ไฟล์ทบินทั่วโลกแล้ว ปล่อยแก๊ซเรือนกระจกปีหนึ่งๆ จำนวนมหาศาล เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน

ในการประชุม UN Climate Action Summit 2019  เธอเดินทางจากเพลย์เมาท์ ประเทศอังกฤษ ไปยังนิวยอร์คโดยเรือ ใช้เวลาเดินทางนานถึง 15 วัน! ในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้เธอก็มีแพลนเดินทางไปซานติเอโก้ สหรัฐอเมริกา และชิลี โดยรถบัส รถไฟ หรือเรือเช่นกัน 

ไม่เพียงเกรต้าคนเดียวที่ปฏิเสธจะนั่งเครื่องบิน แต่พ่อแม่ของเธอก็รับแนวคิดนี้จากลูกสาวไปด้วยเช่นกัน แม่ของเกรต้า ซึ่งเป็นนักร้องโอเปร่า ก็ปฏิเสธที่จะนั่งเครื่องบินเช่นกัน 

3. ถูกโจมตีจากสังคม

cyber bully

อาจจะพูดได้ว่า ท่าทีเกรี้ยวกราด คำพูดขวานผ่าซากของเกรต้า มาจากลักษณะ Asperger ที่ขาดทักษะการเข้าสังคม และจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ ท่าทีเหล่านี้เองที่ทำให้คนรุ่นก่อนและสื่อหลายแห่งมีผลตอบรับในด้านลบ และอคติ โดยเฉพาะหลังจากสุนทรพจน์ ณ ที่ประชุม UN Climate Action Summit 2019 เมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา เมื่อพีธีกรถามว่าเธอมีอะไรจะฝากถึงเหล่าผู้นำหรือไม่

“…พวกคุณล้วนเข้าหาคนรุ่นใหม่อย่างเราเพื่อความหวัง กล้าดียังไง คุณได้ขโมยความฝันและวัยเด็กของฉันด้วยลมปาก แต่ฉันยังเป็นหนึ่งในคนที่โชคดี ผู้คนกำลังเจ็บปวด ผู้คนกำลังตาย ระบบนิเวศน์ทั้งหมดกำลังล่มสลาย”

วาจาจัดจ้านตรงใจนี้เอง โดนใจคนรุ่นใหม่สายรักษ์โลก แต่ทำคนรุ่นก่อนและผู้นำควันออกจมูกกันเป็นแทบ Scott Morrison นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงขึ้นทุกๆ ปี  ออกมาพูดถึงท่าทีของเกรต้าในวันถัดมาที่ UN ว่าไม่อยากให้เด็กรุ่นใหม่มองโลกในแง่ร้ายขนาดนี้ และไม่ควรให้เด็กต้องมาวิตกกับปัญหาที่ยังมาไม่ถึง “I don’t want our children to have anxieties about these issues.”ที่มา

นอกจาก Scott Morrison จะออกมาพูดกึ่งตำหนิเกรต้าแล้ว หลายสื่อก็โจมตีเกรต้าเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการล้อเลียนว่าเธอเป็นดราม่าควีน เป็นคนป่วยทางจิต และตื่นตระหนกเกินไป สิ่งที่เกรต้ากำลังเผชิญอยู่ไม่ใช่เพียงการถูกกังขาในความเยาว์วัยของเธอ แต่เป็นการถูกเหยียดทางเพศ (Sexism) และทางความสามารถ (Ableist) ว่ากันว่า หากเกรต้าเป็นผู้ชาย และไม่มีลักษณะ Asperger ผลลัพธ์ที่ออกมาอาจจะเป็นไปในทางกลับกันก็เป็นได้

4. ความแตกต่างคือ Superpower 

asperger

“….ฉันเป็น Asperger และนั่นหมายความว่า บางครั้ง ฉันแตกต่างจากคนทั่วไป และ—ถ้าอยู่ในบริบทที่เหมาะสม—การแตกต่างคือพลังพิเศษ” 

ข้อความจากทวิตเตอร์ของเกรต้า ที่พูดถึงลักษณะ Asperger หรือลักษณะ Autisim ของเธออย่างเปิดเผย และเรียกลักษณะที่สังคมกังขา ว่าเป็น “พลังพิเศษ” เพื่อสร้างสิ่งดีๆ ได้ 

Asperger คืออะไร? 

คือลักษณะออทิสติกระดับอ่อน มักจะมีปัญหาเรื่องการเข้าสังคม จดจ่อกับสิ่งใดเพียงสิ่งเดียว จดจำสิ่งของหรือเรื่องราวที่เป็นแพทเทิร์นได้ดี ว่ากันว่าลักษณะเหล่านี้เอง ที่ทำให้เกรต้าจดจ่อกับการแก้ไขปัญหา Climate Change มากๆ 

“…เขาบอกเราว่ามีสิ่งที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอยู่ และมันเป็นเรื่องที่น่ากลัวและเป็นภัยต่ออนาคตของเรามากๆ ยิ่งฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับมันมากเท่าไหร่ ฉันก็ยิ่งคิด ‘ถ้าเรื่องนี้น่ากลัวขนาดนั้น ทำไมเราไม่พูดถึงและพยายามที่จะแก้ไขมันตลอดเวลาล่ะ’”

เกรต้ากล่าวไว้เมื่อปี 2018 ถึงจุดเริ่มต้นก่อนที่เธอจะออกมานั่งประท้วงหน้ารัฐสภาสวีเดน เป็นการบอกเล่ากลายๆ ว่าลักษณะ Asperger ซึ่งว่าง่ายๆ ก็คือตัวตนของเกรต้านั่นแหละ ที่ทำให้จดจ่อกับปัญหา Climate Change เอามากๆ 

5. ได้รับรางวัล  Alternative Nobel สิ่งแวดล้อม

alternative nobel

ล่าสุดเกรต้าได้รับรางวัล Right Livelihood Award ก่อตั้งเมื่อปี 1980 ได้รับสมญานามว่าเป็น Alternative Nobel เนื่องจากที่มาของการก่อตั้งคือ ถูกมูลนิธิโนเบลปฏิเสธที่จะเพิ่มรางวัลสาขา  สาขาสิ่งแวดล้อม สาขาการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสาขาสิทธิมนุษยชน จึงแยกออกมาเป็นมูลนิธิใหม่ เพื่อมอบรางวัลให้สาขาเหล่านี้โดยเฉพาะ 

เกรต้าได้รับรางวัลในด้านสิ่งแวดล้อม ที่ทางมูลนิธิให้คำจำกัดความเกียรติคุณของเธอไว้ว่า 

“จุดประกายและเป็นกระบอกเสียงสำคัญต่อการเรียกร้องทางการเมืองให้หันความสำคัญต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏทางวิทยาศาสตร์” 

โดยพิธีมอบรางวัลจะถูกจัดขึ้นภายหลังในวันที่ 4 ธันวาคมปีนี้ ณ กรุงสตอล์คโฮล์ม ประเทศสวีเดน 

6. ติดอันดับ TIME100 ผู้ทรงอิทธิผลปี 2019 

Time 100

เกรต้าติดอันดับผู้ทรงอิทธิผลแห่งปี 2019 ในหมวด “Leader” “ผู้นำ” ร่วมกับผู้นำระดับโลกอย่าง โดนัล ทรัมป์, สี จิ้นผิง, โป๊ป ฟรานซิส และ เป็น1 ใน 6 ผู้หญิงของรายชื่อในหมวดผู้นำทั้งหมด 26 คน 

เกรต้านับเป็นแสงสว่างทั้งของคนรุ่นใหม่ และผู้หญิงรุ่นใหม่ แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าผู้หญิงก็ทำได้ และ Gender Equality สามารถเกิดขึ้นได้จริงในไม่ช้าไม่นานนี้

สาวช่างฝันในวัยทเว็นตี้ซัมติง เรียนด้านเขียนอ่าน บันทึกเรื่องราวด้วยการสังเกตและบทสนทนา ชอบงานคราฟท์ ปักผ้าได้ พยายามหัดถักนิ้ตติ้งแล้วแต่ไม่สำเร็จ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save