TOP
h

thewmtd

คลั่งรัก

คลั่งรัก รู้จักอาการคลั่งรัก (Limerence) ที่อันตรายกว่าที่คิด

เพื่อนๆ รู้ไหมว่าคำว่า ‘คลั่งรัก’ ไม่ใช่แค่คำที่เอาไว้แซวคนที่กำลังอินเลิฟจัด แต่เป็นอาการทางจิตวิทยาที่มีอยู่จริง เรียกว่า Limerence ซึ่งอาการคลั่งรักนี้อันตรายมากกว่าที่เราคิด!!

คลั่งรัก คืออะไร

อาการ คลั่งรัก หรือ Limerence เป็นคำที่ ถูกคิดค้นมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 โดย Dorothy Tennov นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เธอได้นิยาม Limerence ว่า เป็นภาวะหมกมุ่นอย่างรุนแรง ที่ใครสักคนต้องการจะรัก และได้รับความรักตอบมาจากบุคคลที่เราแสดงความรักให้ไป

Dr. Dorothy Tennov อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าเรามองระดับความรู้สึกรักหรือหลงใหลใครเป็น ‘สเปกตรัม’ ที่ไล่สีตั้งแต่สีอ่อนไปจนถึงสีเข้ม คนที่มีอาการคลั่งรัก ก็คือคนที่มีระดับความรู้สึกรักใคร่ หลงใหลในสีเข้มสุด

คนที่คลั่งรัก จะควบคุมตัวเองไม่ได้ ไม่สามารถหยุดตัวเองหยุดคิด หยุดนึกถึงคนที่ชอบได้ มีความคิดหมกมุ่นที่เกี่ยวกับคนที่เรารักตลอดเวลา และอยากให้คนที่เรารักหันมารักเราตอบ จนเลยเถิดไปถึงความรู้สึกที่อยากครอบครองเขา คิดว่าเขาคนนั้นเหมาะสมกับเราเพียงผู้เดียว ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตของคนที่คลั่งรักเอง และคนที่ถูกคลั่งรักได้

____________________________________

อาการแบบไหนที่เรียกว่า คลั่งรัก

คลั่งรัก

อาการของคนมีความรัก กับคนที่คลั่งรัก มีจุดที่แตกต่างกันจนเราสังเกตได้เหมือนกันนะคะ

คนที่มีอาการลิเมอแรนซ์จะถูกควบคุมโดยกลุ่มสารในระบบประสาทที่เรียกว่าโมโนอะมีน (Monoamine) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เรามีความรู้สึกดีใจ เศร้า หรือเหงา มากเกินความจำเป็น และยังส่งผลถึงอาการทางกายภาพ เช่น ใจสั่น เหงื่อแตก วิงเวียนศีรษะ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมด้านการกินอาหารและการนอนหลับ

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาสมองของกลุ่มคนที่มีอาการ คลั่งรัก พบว่าสมองจะทำงานในลักษณะคล้ายกันกับผู้ที่เสพยาโคเคน คือระหว่างที่กำลังมีอารมณ์ลุ่มหลงในความรัก ระดับฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) จะลดลงมาอยู่ในระดับต่ำจนอาจอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับผู้ที่มีอาการย้ำคิดย้ำทำ (OCD) ส่วนระดับฮอร์โมนโดพามีน (Dopamine) ที่สัมพันธ์กับความร่าเริงและตื่นตัวกลับพุ่งสูงขึ้น

ทำให้ผู้ที่มีอาการคลั่งรักมีลักษณะท่าทาง และพฤติกรรมที่ดูตื่นตัว ย้ำคิดย้ำทำ และยังมีอารมณ์ค่อนข้างแปรปรวนง่ายกว่าคนทั่วไป ซึ่งเราสรุปอาการของคนคลั่งรัก มาเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • ใจสั่น พูดติดอ่าง วิงเวียนศีรษะ เสียอาการอย่างหนักจนผิดปกติ เมื่อได้อยู่ใกล้
  • คิดถึงจนฟุ้งซ่าน กระทบชีวิตประจำวันอย่างเห็นได้ชัด
  • จินตนาการถึงชีวิตในอนาคตกับคนคนนั้นไปไกล ชีวิตอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีเขา
  • หมกมุ่นสุดขีด รู้สึกหึงหวงตลอดเวลา มองว่าเขาเป็นของเราเท่านั้น
  • มองข้ามข้อเสียของอีกฝ่าย ทำผิดก็จะแก้ให้เป็นถูกได้เสมอ
  • มีอารมณ์ร่วมกับเขาทุกอย่าง เป็นทุกข์เป็นร้อนตามอย่างเห็นได้ชัด และไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้
  • ยิ่งถูกปฏิเสธยิ่งหลงใหล มีอาการคลั่งไคล้มากกว่าเดิม

____________________________________

คลั่งรักจนอันตรายทำยังไงดี

อาการ คลั่งรัก ถ้าเรามีมากเกินไป นอกจากจะทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน ไม่มีสมาธิจนส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน ความรู้สึกที่รุนแรงนี้ อาจทำให้เราไม่สามารถแยกแยะเหตุผล ผิดชอบชั่วดี ไม่สามารถควบคุมการกระทำใดๆ ของตัวเอง จนนำไปสู่อาชญากรรมที่เกิดจากความรักความหึงหวงได้ (Crimes of passion) ได้เลยนะคะ

ถ้ารู้ว่าเรามีอาการคลั่งรักจนไม่เป็นตัวของตัวเองแล้ว ต้องเริ่มจัดการด้วยการดึงสติตัวเองก่อน ลองสังเกตความรักของเราอยู่บนพื้นฐานของหลักความเป็นจริงหรือไม่ เรากำลังปล่อยให้ความรู้สึกอยู่เหนือเหตุผลหรือเปล่า

หยุดหมกมุ่นเรื่องของเขาแล้วหากิจกรรมทำเพื่อช่วยให้คิดถึงเขาน้อยลง ซึ่งอาจจะเป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ทุกวัน เช่น ดูหนัง, ฟังเพลง, ช้อปปิ้ง หรือออกกำลังกาย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เราได้กลับมาดูแลตัวเอง ได้กลับมารักตัวเองมากขึ้นด้วย

การตกหลุมรักใครสักคนเป็นเรื่องที่สวยงาม แต่ความรักที่ทำให้เราหรือคนอื่นเป็นทุกข์ ไม่ใช่ความรักที่ Heathy แน่นอน
ถ้าเพื่อนๆ อยากรู้ความความรักที่ดี ความรักที่ Heathy เป็นอย่างไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://thewmtd.com/what-healthy-toxicrelationship-looklike/

อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆ จากผู้หญิงสมัยนี้ :

งาน วิ จัย ยืน ยัน ว่า ‘ผู้หญิงโสด’ มัก จะ รวย และ สุข ภาพ ดี กว่า คน แต่ง งาน มี ลูก

ฝาก ไข่ เทรนด์ ใหม่ ของ สาว โสด วัย 30+ ที่ อยาก มี ลูกใน อ นา คต

H e a l t h y R e l a t i o n s h i p : สำ รวจ ความ สัม พันธ์ ที่ ดี ต่อ ใจ มี ลักษณะ อย่าง ไร ใช่ เรา รึ เปล่า ?

นักคลั่งการอ่านและการเขียน ผู้สนใจทุกเรื่องรอบตัว และติดตามกระแสสังคมได้อย่างรวดเร็ว ชอบชงกาแฟ ชอบดูหนัง และวงเกาหลี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save