งอน ความรู้สึกที่ผู้ชายไม่อยากให้คุณรู้
งอน (คำกริยา) แสดงถึงอาการโกรธตะบึงตะบอน หรือ โกรธสบัดสบิ้ง ตัวอย่าง: เธองอนที่เขามาช้า
ถ้าหากเราเห็นผู้หญิงร้องไห้ฟูมฟายอยู่ในที่สาธารณะ เราอาจจะรู้สึกสงสาร เห็นใจ อึดอัดใจ แต่ถ้าหากคนคนนั้นเป็นผู้ชาย ความรู้สึกที่มีต่อผู้ชายที่กำลังร้องไห้ อาจจะเป็นความรู้สึก กลัว
ทำไมความรู้สึกที่มีต่อผู้ชายที่กำลังแสดงความรู้สึก ถึงต่างกับผู้หญิงโดยสิ้นเชิงเลยล่ะ? มันแย่มากเลยหรอที่ผู้ชายจะ งอน หรือ แสดงความรู้สึกออกมาให้คนอื่นเห็น?
รู้หรือไม่ ผู้ชายขี้งอนมากกว่าผู้หญิง
มีความเชื่อที่ว่าผู้หญิงขี้งอน และ เจ้าอารมณ์กว่าผู้ชาย ซึ่งอาจจะจริงสำหรับบางคน แต่ มีงานวิจัยทางจิตวิทยาหนึ่งของสถาบัน Mindlab โดยการนำผู้ชายและผู้หญิงมาดูทั้ง วีดีโอที่อบอุ่นหัวใจ และ เรียกน้ำตา พบว่า ผู้ชายขี้งอน และ เจ้าอารมมากพอๆ หรือ มากกว่าผู้หญิงด้วยซ้ำ เพียงแต่พวกเขาไม่อยากแสดงความรู้สึกเหล่านั้น ออกมาอย่างเปิดเผยเท่านั้นเอง นั้นเป็นเพราะผู้ชายนั้นไม่อยากถูกตัดสินจากสังคมว่าเป็น ผู้ชายเจ้าอารมณ์ หรือ ผู้ชายอ่อนแอ
ทำไมผู้ชายถึงเลือกที่จะไม่แสดงออกว่าพวกเขา งอน
ในสังคม ผู้หญิงแสดงอารมณ์ความรู้สึก ได้อย่างอิสระ ในขณะที่ผู้ชายโดนปลูกฝังความคิดเกี่ยวกับการซ่อน หรือ ไม่แสดงออกถึงความรู้สึก ตั้งแต่ยังเด็ก เมื่อผู้ชายเหล่านั้นโตเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาอาจจะไม่สามารถแสดงความรู้สึกจริงๆ ของพวกเขาได้ ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้ยาเสพติดเพื่อหนีจากปัญหาทางอารมณ์ที่พวกเขาไม่สามารถหาทางออกได้ หรือ เกิดเป็นพฤติกรรมต่อต้านสังคมได้ในอนาคต
ไม่น่าแปลกใจเลย ถ้าหากเราจะไม่ชินกับการเห็นผู้ชายร้องไห้ฟูมฟาย หรือ งอนตุ๊บป่องไม่ยอมปริปากเล่าว่าเป็นอะไร นั้นเป็นเพราะพวกเขา ชินกับการเก็บความรู้สึกแย่ๆ เอาไว้ด้วยตัวของพวกเขา เพียงคนเดียว นั้นเป็นเพราะ พวกเขาไม่รู้วิธีที่ถูกต้องในการแสดงอารมณ์ และ ไม่ค่อยมีโอกาศ ที่จะได้แสดงมุมที่อ่อนไหวเหล่านี้ให้ใครได้รับรู้ และ เพื่อไม่ให้ถูกสังคมตราหน้าว่าเป็น คนอ่อนแอ มันอาจเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ในการแสดงความรู้สึก สำหรับพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับคนที่โดนปลูกฝังค่านิยมต่างๆ เกี่ยวกับ ความเป็นผู้ชาย ที่ ไม่ร้องไห้ ไม่บ่นเยอะ หรือ ไม่เรื่องมาก
ค่านิยมที่ว่า “เป็นผู้ชายไม่ร้องไห้ หรือ เป็นผู้ชายต้องเข้มแข็ง ผู้ชายต้องไม่บ่น” ที่ใครหลายคนคงคุ้นเคยกันดียังคงไม่สามารถลบออกจากบรรทัดฐานของสังคมทั่วโลกได้ ทำให้ผู้ชายต้องรับบทบาททางเพศว่าต้องเข็มแข็ง ต้องไม่ร้องไห้ ต้องไม่บ่น ค่านิยมนี้หล่อหลอมสังคม จนทำให้เกิดบรรทัดฐานที่ว่า การแสดงออกซึ่งความอ่อนไหว หรือ อารมณ์ จึงถือว่าเป็นสิ่งที่ดู อ่อนแอ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ หรือ ไม่ใช่ลูกผู้ชาย
แม้จะเห็นว่าเขายิ้มอย่างมีความสุข หัวเราะกับความผิดพลาด หรือ ปากบอกไม่เป็นไร ลึกๆแล้ว เขาอาจจะรู้สึกอะไรบางอย่าง ไม่มากก็น้อยอยู่ก็ได้ เพียงแค่ บทบาททางเพศที่ผู้ชายต้องแบกรับไว้ ทำให้หลายๆคนไม่รู้ถึงมุมอ่อนไหวที่ผู้ชายแอบซ่อนเอาไว้
ความลำบากใจ บนบทบาททางเพศของผู้ชาย
ทุกวันนี้ โลกได้เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อน กระแสของความเท่าเทียมทางเพศก็กำลังเป็นที่พูดถึงทั่วทุกมุมโลก ผู้หญิง ไม่จำเป็นจะต้องเล่นตุ๊กตา บ้านตุ๊กตา หรือ ปาร์ตี้น้ำชาอย่างเดียว เช่นเดียวกับ ผู้ชาย ที่ ไม่จำเป็นจะต้องชอบเล่นกีฬา เกมส์ หรือ การแข่งขันอีกต่อไป ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย หากผู้ชายจะไม่เข้าใจผู้หญิง หรือผู้หญิงจะไม่เข้าใจผู้ชาย เพราะ ทั้งสองฝ่ายต่างถูกสอนมาไม่เหมือนกัน มืทัศนคติต่อสิ่งต่างๆ ต่างกัน ดังนั้น สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหานี้คือ การพูดคุยกันอย่างอิสระ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน คือ สิ่งนึงที่จำเป็นต้องเข้าใจ คือ การแสดงออกทางอารมณ์ หรือ การร้องไห้ ไม่ได้สะท้อนถึงความอ่อนแอ แต่มันคือ ธรรมชาติ ของมนุษย์ ที่จะรู้สึกสะเทือนใจ เสียใจ หรือ ร้องไห้
“เป็นอะไรหรือเปล่า” คำถามง่ายๆ ที่ได้คำตอบยาก หลายครั้งที่ถามไปด้วยความห่วงใหญ่แต่กลับได้คำตอบเหมือนกันบ่อยครั้งว่า “ไม่เป็นไร”
ในการอยู่ด้วยกัน การกระทบกระทั่งกันถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ บางครั้งก็ทำให้เกิดการ งอน หรือ ทะเลาะกัน ขึ้นได้ ไม่ว่าใครก็มีสิทธิเศร้าได้ทั้งนั้น เช่นเดียวกับการแสดงออกทางอารมณ์ ไม่ว่าเพศไหนก็สามารถเศร้าได้ ทุกข์ได้ หรือ ร้องไห้ได้ การพูดคุยถึงความรู้สึกจริงๆ หรือการระบายออกซึ่งความรู้สึกที่แท้จริง เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเปลี่ยนแปลง เพื่อ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมที่มีบรรทัดฐานต่อบทบาททางเพศของผู้ชายแบบเก่า ที่ต้องหลบซ่อนความรู้สึกที่คิดว่าตัวเอง อ่อนแอ เอาไว้
#wmtd #Men #women #genderequality #emotional
Sources
:https://www.livescience.com/6589-young-men-sensitive-women-relationship-quality.html
https://www.elitedaily.com/dating/guys-more-emotional-girls/1077730