ระวัง!ความจริงของ Microdosing Psychedelic เยียวยาจิตใจได้หรอ?
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการค้นคว้ายารักษา โรคซึมเศร้า แต่อุตสาหกรรมการแพทย์พบยาที่รักษาโรคทางจิตใจนี้ได้อย่างอยู่หมัด แต่ในความสิ้นหวังก็ไม่ได้มืดมิดจนดำสนิท เพราะเคมีบำบัด ไม่ใช่หนทางเดียว
แต่มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่า การใช้สารให้ฤทธิ์หลอนประสาท (Psychedelic) ในปริมาณน้อย (Microdosing) สามารถรักษา และเปลี่ยนระบบความคิดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ แต่สาเหตุที่วงการแพทย์ยังไม่สามารถนำสารนี้ไปพัฒนาเพื่อรักษาได้ เพราะยังถูกจัดเป็น สารเสพติด
Psychedelic คืออะไร?
Psychedelic คือ สารที่ทำให้เกิดอาการหลอนประสาท ส่งผลกับสมองโดยตรง ผู้เสพอาจมีอาการ หูแว่ว เห็นภาพหลอน สติและความรู้สึกนึกคิดเปลี่ยนไป จัดเป็นสารเสพติดให้โทษร้ายแรง โดยตัวที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดก็คือ DMT (Dimethytryptamine), MDMA หรือ (Methylenedioxymethamphetamine), LSD (LySergic acid Diethylamide) หรือ acid และ เห็ดเมา เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เห็ดขี้ควาย หรือ เห็ดหัวเราะ (Shroom, Magic Shroom, Magic mushroom, Psilocybin contanined mushroom) ประเทศไทยจัดเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง
ก่อนอื่น เพื่อให้เข้าใจเป็นภาษาเดียวกัน เราไปดูเกร็ดความรู้ และ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ Psychedelics กันก่อน
Fact Check
- Psychedelic เป็นสารที่ผลิต และพบได้ตามธรรมชาติ ไม่ทำให้เกิดการเสพติด
- Psychedelic บางชนิดสามารถใช้รักษาอาการติดบุหรี่- สุราได้
- มีรายงานจากทั่วโลกว่ามีการใช้ Psychedelic ในหลายวัฒนธรรมมานานนับ 1,000 ปี เช่น การใช้เห็ดเมาของชาวอินเดียแดง หรือ ว่าน Ayahauska ที่เรียกกันว่ายาหมอผีในแถบ เนปาล และ เปรู เป็นต้น
- ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิตการรับสาร Psychedelic เกินขนาด แต่เกิดจากอุบัติเหตุขณะเกิดภาพหลอน
Psychedelic Vocab 101
- High : ความรู้สึกเมาแบบลอยๆ เคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย ไม่เหมือนเมาเหล้า
- Trip : ช่วงเวลาระหว่างหลอน หรือ High ของการเสพสารจำพวก Psychedelic เนื่องจากผู้เสพจะรู้สึกว่าการเสพครั้งนั้นๆ คล้ายกับได้ไปเที่ยว หรือ ไปทริป
- Good Trip: หมายถึงความรู้สึกโดยรวมต่อ ทริป ที่ผู้เสพรู้สึกดี ผ่อนคลาย ได้เห็นอะไรที่ดี ได้ทบทวนและเข้าใจชีวิต และรู้สึกดีกับตัวเอง
- Bad Trip: หมายถึงความรู้สึกโดยรวมต่อ ทริป ที่ผู้เสพรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวล อาจเห็นอะไรที่น่ากลัว หรือรู้สึกดาวน์เพราะถูกกระทบกระเทือนจิตใจ
- Trip sit : คนที่คอยดูแลคนระหว่างทริป
- Dose : หมายถึงปริมาณของที่จะบริโภค
อันตรายและโทษ ของ Psychedelics!
ผู้คนหลายคนที่เคยลอง Psychedelics แล้ว เล่าถึงความรู้สึกระหว่างทริปว่าดีมาก ได้บทเรียนต่างๆนาๆ ไม่เว้นไม่แต่ สตีฟ จ๊อบส์ เขาได้นิยามประสบการณ์การใช้ LSD ของเขาไว้ว่า “เป็นประสบการที่สำคัญที่สุดในชีวิต”นั้นเป็นเพราะพวกเขาได้ประสบกับ กู๊ดทริป (Good Trip) ที่ผู้เสพจะได้เพลิดเพลินและเคลิบเคลิ้มไปกับอาการหลอน และหลุดลึกไปกับจินตนาการของตนเอง ภาพที่เห็นอาจเป็นได้ตั้งแต่ ท้องฟ้า ดวงดาวที่สวยงาม ขนาดห้องที่ดูใหญ่กว่าปกติ สีสันที่สดใส ตลอดไปจนถึงภาพตัวการ์ตูน และเรื่องราวที่มีความหมาย จึงเป็นสาเหตุให้มีศิลปินหลายคนในช่วงราว 1960 หรือ ยุคที่ บุพผาชนครองเมือง อย่างเช่น Yoko Ono, The Beatles, The Door, หรือ Jimmy Hendrix นำประสบการณ์หลอน ไปสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะหรือ บทเพลงให้โลกได้จารึกไว้
แน่นอนเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็น สารเสพติด ไม่ว่าจะสามารถทำให้เพลิดเพลิน หรือ เยียวยาจิตใจ ได้ขนาดไหน ก็ต้องมาพร้อมกับผลข้างเคียงที่นอกเหนือจากโทษทางกฏหมายเสมอ
เมื่อปี 2013 ที่สหรัฐอเมริกา มีรายงานจำนวนผู้เข้าห้องฉุกเฉิน เนื่องจากอาการหลอนประสาทจากสารต่างๆ ราว 12,000 คน ซึ่งมีสาเหตุมาจาก พิษจากการรับสารในปริมาณที่มากเกินไป หรือ เกิดอาการหลอนเกินจนไม่สามารถควบคุมสติได้ เนื่องจากพวกเขาทรมานกับอาการหลอน โดยที่พวกเขาไม่รู้ว่ามันจะจบเมื่อไหร่
ถ้าหากเป็นเหล้าเบียร์ เมื่อเราไม่ไหว ก็อาจจะไปถอน นอนกอดโถ ตื่นมาก็อย่างมากแค่ปวดหัว แต่ไม่ใช่กับ Psychedelics อาการ แบดทริป (Bad Trip) คือทริปที่ผู้เสพต้องหลุดเข้าไปเผชิญกับจินตราการของตัวเองที่น่ากลัว รู้สึกไม่ปลอดภัย อย่างควบคุมไม่ได้ อาจเห็นภาพหลอนที่ติดตา บางคนถึงขั้นเห็นสัตว์ประหลาดที่น่ากลัว ซึ่งจะนำไปสู่อาการ เลิ่กลั่ก กระวนกระวาย เนื่องจากไม่รู้ว่าภาพเหล่านั้นจะจบเมื่อไหร่
แบดทริปนี่แหละ หนึ่งในสาเหตุของการสูญเสีย เพราะเมื่อผู้เสพ เกิดอาการแพนิครุนแรงจนสติหลุด อาจนำไปสู่พฤติกรรมที่คาดเดาไม่ได้ของผู้เสพ จนเป็นเรื่องใหญ่โต อย่าง การวิ่งออกไปกลางถนนแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย การกระโดดลงจากตึกสูง หรืออุบัติเหตุต่างๆ บางครั้ง อาจรู้สึกกระทบกระเทือนจิตใจรุนแรงจนฝังใจได้ หรือแย่ที่สุดก็อาจเกิดอาการ Ego – Death หรือ อาการที่สูญเสียตัวตนข้างในไปโดยสมบูรณ์ ซึ่งก็มีทั้งผู้ที่สามารถหายได้เอง และ ไม่สามารถหายได้เช่นกัน
Psychedelic =/= Microdosing Psychedelic
Micro-dosing คืออะไร?
Microdosing หมายถึงการบริโภคในจำนวนที่น้อยกว่าปกติหลายเท่า ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้กับการเสพยาเพียงอย่างเดียว คุณสามารถไม่โครโดส ช็อคโกแลต ด้วยการกินแค่วันละหนึ่งในสิบส่วน แทนที่จะกินให้หมดทั้งแท่งในคราวเดียว การ Microdose Psychedelic ก็เช่นกัน ใช้เพียงประมาณ 1 ใน 10 ของจะไม่ทำให้ รู้สึกเมา หรือเกิดอาการหลอน เพราะปริมาณสารที่เข้าสู่ร่างกายนั้นน้อยมากๆ
มีงานวิจัยโดย นักวิจัย และ จิตแพทย์ หลายคนที่ชี้เป็นเสียงเดียวกันว่า หลังการ Microdosing Psychedelic ผู้เสพส่วนใหญ่บอกว่า รู้สึกเข้าใจตัวเอง ความเป็นไปของโลก ลดความวิตกกังวล ตลอดจนถึงสุขภาพจิตและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก หลายคนให้เหตุผลว่า พวกเขารู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น จากคนที่เคยมองโลกแง่ร้าย ก็หันมองในมุมที่ดีมากขึ้น รู้สึกรักผู้คนรอบข้างมากขึ้น และเข้าใจถึงความเป็นไปของโลกมากขึ้น แม้คำพูดของคนเมาอาจฟังดูไม่ค่อยมีน้ำหนักเท่าไหร่นัก แต่การที่ผู้คนหลายคนจากทั่วโลกพูดเป็นเสียงเดียวกัน มันคงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
Imperial College London เปิดเผยว่าสาร Psylocybin ที่พบ เห็ดเมา สามารถปรับการทำงานสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ ต่างจากยารักษาใช้ในปัจจุบัน ที่บางครั้งมีผลข้างเคียง ทำให้ผู้เข้ารักษา เกิดอารมณ์หม่นหมอง หรือไร้อารมณ์
ผู้ป่วยผู้เข้าทดสอบรับ Microdosing Psychedelic หลายคนบอกว่าพวกเขารู้สึกเหมือนถูก “รีเซ็ท” เมื่อทำการสแกน MRI พบว่าสมองผู้เข้าทดสอบที่รับสาร Psylocybin เข้าไปมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ที่สมองส่วนของ อมิกดาลา (Amygdala) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมความกลัว ความเครียด อารมณ์และการตอบสนองต่างๆ ของมนุษย์
งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อสมองได้รับสาร Psylocybin ทำให้เกิดการส่งข้อมูลต่างจากเดิม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้เข้ารับการทดสอบรู้สึกว่าถูก รีเซ็ท ซึ่งส่งผลต่ออาการซึมเศร้าของพวกเขาที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ไม่แน่ว่า หากเราสามารถนำสารนี้มาใช้พัฒนาใช้อย่างถูกวิธี อาจเป็นการค้นพบครั้งใหญ่ที่สะเทือนวงการการแพทย์ได้ อย่างไรก็ตามการใช้ Microdosing Psychedelic ยังไม่เป็นที่ยอมรับ และผิดกฏหมายหากใช้งานโดยไม่มีแพทย์ที่ได้รับอนุญาติคอยควบคุมอย่างใกล้ชิด
นอกจากงานวิจัย ผู้ใช้งานจริงอย่าง Ayelet Waldman นักเขียนหญิงชาวแคลิฟอร์เนียผู้ต้องต่อสู้กับโรคซึมเศร้าขึ้นรุนแรง ที่ซ้ำร้ายยังส่งผลร้ายต่อชีวิตครอบครัวของเธอด้วย เธอต้องทนทุกข์อยู่กับโรคร้ายอยู่เป็นเวลานาน เธอกลับหายได้ด้วยการ Microdosing LSD เป็นเวลาหนึ่งเดือน
Ayelet เล่าว่าครั้งแรกที่เธอทดลองใช้ เธอไม่ได้เห็นภาพหลอนใดๆ ทั้งสิ้น และทำงานในบ้านตามปกติ เหลือบไปต้นไม้ในสวน แล้วเกิดความคิดกับตัวเองว่า ดอกไม้ที่กำลังจะบานเหล่านั้นมันช่างสวยเหลือเกิน และนั่นคือวินาทีที่ Ayelet ได้ข้อคิดสำคัญของชีวิต
หลายปีที่ผ่านมาเธอไม่เคยเห็นความงามของดอกไม้ เพราะมัวแต่จมปลักอยู่กับความเศร้า เธอเล่าว่า LSD ทำให้สมองของเธอสื่อสารกันในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เธอจึงคิดสิ่งที่เธอไม่สามารถคิดได้ด้วยตัวเองมาก่อน เธอจะใช้ LSD เจือจางทุกๆ สามวัน พร้อมกับจดบันทึกเรื่องราวการรักษาของเธอ และถ่ายออกมาเป็นหนังสือเรื่อง A really Good Day
จิตแพทย์หลายคนบอกว่า หากมีปัญหาเรื่องโรคที่เกี่ยวกับจิตใจ ควรอยู่ให้ห่างจาก Psychedelic เพราะหากไม่ได้มีคำแนะนำ และการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ ควบคุมการใช้งานในปริมาณที่เหมาะสม อาจทำให้โรคร้ายเหล่านั้น เลวร้ายกว่าเดิม
ปัจจุบันงานวิจัยเกี่ยวกับการ Microdosing Psychedelic ยังคงมีไม่มากนัก มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ต้องหยุดลงเนื่องจากต้องเผชิญกับปัญหา ต้องยอมรับว่าการวิจัยด้านนี้ นอกจากจะใช้ทุนสูงระดับนึงแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้งานวิจัยสำเร็จยาก เมื่อถามถึงเหตุผลที่งานวิจัยเหล่านั้นต้องหยุดลง ก็ได้คำตอบกลับมาว่า “ถ้าอยากได้รายละเอียดของการใช้ยาเสพติด ด้วยการปล่อยให้คนนำไปใช้ด้วยตัวเอง แล้วศึกษาจากพวกเขา มันคงเป็นอะไรที่ยาก”
อะไรที่มากเกินไปย่อมไม่ดี ทุกๆ อย่างล้วนมีข้อดีในตัวของมันเอง โดยเฉพาะ Psychedelic ที่เปรียบเสมือนกับดาบสองคม ที่หากนำมาใช้อย่างถูกวิธี มันสามารถเป็นยารักษาโรคที่แสนวิเศษ กลับกันก็กลายเป็นประสบการณ์น่ากลัวที่อาจนำไปสู่การสูญเสีย ปัจจุบัน Psychedelic ยังถูกจัดเป็นสารเสพติดอยู่ และยังมีเรื่องที่ต้องศึกษาอีกมาก รวมถึงความลับต่างๆ ของสารสุดหลอนนี้ด้วยเช่นกัน
แหล่งที่มาข้อมูล
https://maps.org/news/multimedia-library/5146-5-mind-blowing-lessons-from-psychedelics-experts
https://www.medicalnewstoday.com/articles/324609
https://www.businessinsider.com/most-promising-uses-psychedelic-drugs-medicine-science-2018-10
https://www.imperial.ac.uk/news/182410/magic-mushrooms-reset-brains-depressed-patients/
https://www.imperial.ac.uk/news/184091/can-psychedelic-drugs-reconnect-depressed-patients/
ลองมาอ่านเรื่องใหม่ๆของคนดัง แมคเกรเกอร์ นักชกมวยระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยความรัก