เบื่องาน? ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ อนาคตการทำงาน Work-Life Balance
แนวคิดเรื่องการลดเวลาทำงาน ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร หากย้อนไปในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ก่อนจะมีสหภาพแรงงาน แรงงานต้องทำงาน 14-16 ชั่วโมง 6 วันต่อสัปดาห์ จนทุกวันนี้ เป็นยุค 9 to 5 คือเข้างาน 9 โมงเช้า เลิก 5 โมงเย็น ทำงาน 8 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ แต่ปัญหา เบื่องาน ยังไม่หายไป
ปัจจุบัน ในยุคที่คนทำงานแสวงหา work-life balance ให้ความสำคัญกับความสุขมากขึ้น การจัดสรรเวลาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี จึงอยู่ในความสนใจของสังคม เป็นที่ถกเถียงกันอยู่เนื่องๆ ซึ่งล่าสุด เกิดประเด็นข่าว ซานนา มาลิน (Sanna Marin) นายกฟินแลนด์ เสนอไอเดียทำงาน 6 ชั่วโมง หรือ ลดเวลาทำงานเหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ แม้สุดท้าย จะถูกยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง
ต้นเหตุเรื่อง
- ซานนา มาลิน ขึ้นพูดเสวนาในงานเลี้ยงครบรอบ 120 ปีพรรคสังคมประชาธิปไตย (Social Democratic Party) เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ในประเด็นลดเวลาการทำงานให้น้อยลง เพื่อความสุขที่มากขึ้น
- วันที่ 2 มกราคม หลังได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อต้นเดือนธันวาคม หลายสำนักข่าวเริ่มพูดถึงประเด็นดังกล่าวมากขึ้น และบิดคำไปเรื่อยๆ จากคำว่า “floated idea” (แนวคิดลอยๆ) เป็น “call for” (เรียกร้องให้..)*
- ข่าวฮือฮาว่า ฟินแลนด์ประกาศให้มีวันทำงาน 6 ชั่วโมง 4 วันต่อสัปดาห์ หรือ 24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ฟินแลนด์ลดเวลาทำงาน แก้ปัญหา เบื่องาน จริงเหรอ?
- ในงานเลี้ยงครบรอบ 120 ปีพรรคสังคมประชาธิปไตย มาลินขึ้นเสวนาเสนอไอเดียให้มีเวลาทำงาน 6 ชั่วโมง “หรือ” ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ไม่ใช่ ทำงาน 6 ชั่วโมง + 4 วันต่อสัปดาห์
- วันที่ 7 มกราคม รัฐบาลฟินแลนด์ออกมาชี้แจงผ่าน Twitter ว่าไม่เป็นความจริง ประเด็นลดเวลาทำงานยังไม่อยู่ในวาระการประชุม และยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ ในเรื่องนี้***
“A four-day working week or a six-hour working day with a sufficient pay may be utopia today, but it may become reality in the future,”
Sanna Marin
ลดเวลาการทำงานลง ทำให้หาย เบื่องาน เป็นผลดีจริงเหรอ?
- ต้องเข้าใจก่อนว่า “ลดเวลาทำงานเหลือ 6 ชั่วโมง” กับ “ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์” แยกกัน
- Microsoft Japan ทดลองเวลางาน 4 วันต่อสัปดาห์ ผลคือ Productive ขึ้น 40%
- Harvard Business Review ระบุว่า การลดเวลางานเหลือ 6 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยข้อจำกัดเรื่องเวลา ทำให้ต้องลดกิจกรรมไร้ประโยชน์ระหว่างวันลง****
ใครได้ผลประโยชน์มากที่สุด?
- คนทำงานในสายงานที่มีค่าแรงสูง ได้ประโยชน์สูงสุดจากการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ คือได้ work-life balance และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- สายงานผู้ใช้แรงงาน เสียผลประโยชน์จากการลดเวลาทำงาน เพราะเวลางาน หมายถึงค่าแรงที่หายไป
- การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ บริษัทเสียผลประโยชน์ในการสร้าง connection หรือติดต่องาน เพราะบริษัทคู่ค้า ทำงานในวันที่เราหยุด
คนทำงานอย่างเรา ได้ยินว่าวันทำงานลดลงก็คงดีใจกันแน่ๆ แต่ในทางปฏิบัติยังเป็นข้อกังขาอยู่หลายอย่าง เพราะหากต้องทำจริงๆ (ทำงาน 4 ต่อสัปดาห์) ต้องปฏิรูปกันทั้งระบบเศรษฐกิจ เพื่อไม่ให้ใครเสียผลประโยชน์ แม้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft จะทดลองทำแล้วว่า productive ขึ้นจริง พนักงานแฮปปี้ขึ้นจริง
อ้างอิง