Situationship มากกว่าเพื่อนแต่ไม่ใช่แฟน สถานะสุดฮิตของคน Gen Y
คุณกำลังมีความสัมพันธ์แบบนี้อยู่รึเปล่า ? ไปกินข้าว ดูหนัง ช้อปปิ้ง เดินเล่น กับคน(เกือบ)พิเศษ แถมยังแชทหากันทั้งวันอีก รู้สึกดีแค่ไหน แต่ก็ยังอยากคงสถานะ คนคุย เอาไว้ ไม่พัฒนาต่อไปไกลกว่านี้ มารู้จัก Situationship สถานะแสนคุลมเครือในความสัมพันธ์ และทำไมสถานะนี้จึงเป็นสถานะยอดฮิตของคนรุ่นใหม่กันนะ?
คนคุย คืออะไร?
‘คนคุย’ หรือสถานะที่เรียกว่า Situationship เป็นสถานะยอดฮิต และเป็นสถานะคุ้นเคยของใครหลาย ๆ คนเลย โดยเฉพาะกลุ่มชาวมิลเลนเนียล ซึ่งหลายปีที่ผ่านมานี้ ผู้เชี่ยวชาญและนักเขียนหลายคนให้ความสนใจและพยายามหาคำนิยามให้กับ ‘สถานะ’ แบบนี้
- ดาโมนา ฮอฟฟ์แมน (Damona Hoffman) เดทติ้งโค้ช และโฮสต์รายการพ็อดแคส Date & Mates นิยาม สถานะแบบคนคุย ไว้ว่า ความสัมพันธ์โรแมนติกระยะสั้น โดยที่ใครซักคน หรืออาจจะทั้งสองฝ่ายไม่อยากพัฒนาสถานะให้มั่นคงกว่านี้
- ทางด้านนักเขียน ซาแมนธา เบิร์นส์ (Samantha Burns) ก็ให้นิยามความสัมพันธ์แบบที่ว่านี้ไว้ว่า “เป็นความสัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายต่างสะดวกใจที่จะไม่ผูกมัดตามแบบฉบับของผัวเดียวเมียเดียว เพราะในช่วงความสัมพันธ์แบบนี้แต่ละฝ่ายก็ยังสามารถมี สถานะแบบนี้กับคนอื่นได้ด้วย ก็คือมีคนคุยหลายคนนั่นแหละ!
ทำไม Situationship จึงเป็นสถานะยอดนิยม?
สถานะที่ดูจะสับสนคลุมเครือนี้ ดูเหมือนจะเป็นหนึ่งในรูปแบบของความสัมพันธ์ ที่คนรุ่นมิลเลนเนียลกำลังนิยม ด้วยเงื่อนไขชีวิตพวกเขายังไม่พร้อมที่จะลงหลักปักฐานกับใครคนใดคนหนึ่งได้อย่างจริงจัง และเงื่อนไขอื่นๆ เช่น
- ภาระทางการเงิน ที่หลายคนรู้สึกว่ายังไม่พร้อม ที่จะจ่ายเพื่อดูแลคนรัก ไม่ว่าจะค่าใช้จ่ายในการไปกินข้าว ดูหนัง หรือแม้กระทั่งของขวัญต่างๆ ซึ่ง ‘นายเอ’ บอกกับเราว่า “เขาจะรู้สึกดีกว่านี้ ถ้าเขาสามารถจ่ายให้คนรักได้อย่างเต็มที่โดยไม่เดือดร้อน”
- ไม่มีเวลาเอาใจใส่ ‘นางสาวบี’ เล่าว่า แค่ทำงานในแต่ละวันก็เหนื่อยมาก จนอยากกลับบ้านไปนอนแล้ว ไม่มีเวลาไปเอาใจใส่ใครขนาดนั้นหรอก สถานะคนคุยจึงกลายเป็นสถานะปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องพัฒนาไปมากกว่านี้
- สนใจเรื่องอื่นมากกว่า สถานะแฟน จึงไม่ตอบโจทย์ ‘นางสาวซี’ เล่าให้เราฟังว่า มีคนคุยแค่พอให้ชุ่มชื่นหัวใจ สานสัมพันธ์กันแค่ในระยะเวลาสั้น ๆ เพราะตัวเองยังสนใจ และให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นมากกว่า
- เปิดโอกาสให้ตัวเอง และสุดท้าย หลายๆ คนก็บอกกับเราว่า ตนเองมีคนคุยหลายคน หรือตนก็เป็นหนึ่งในลิสต์คนคุยของอีกฝ่ายเช่นกัน ทุกคนให้เหตุผลว่า สถานะคนคุย ช่วยเปิดโอกาสให้พวกเขามีตัวเลือกมากขึ้น พวกเขาเรียนรู้ซึ่งกันและกันผ่าน ‘สถานะระยะทดลอง’ และยอมรับผลลัพธ์ที่อาจตามมา
ความสบายใจ ที่อาจเจ็บปวด
แน่นอนว่า ‘คนคุย’ คือสถานะของความสัมพันธ์ที่สุ่มเสี่ยงอยู่ไม่น้อย เพราะแม้ว่าในตอนแรกทั้งคู่จะสบายใจกับสถานะแบบนี้ แต่เมื่อใดก็ตาม ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องอะไรเพิ่มเติมจากอีกฝ่ายมากกว่าที่เป็นอยู่ นั่นแหละ คือจุดที่อาจทำให้ปวดร้าวในใจก็ได้นะ
ลองสมมติว่า คุณรู้สึกดีกับคนนี้มาก ๆ และเปลี่ยนใจอยากขยับความสัมพันธ์ขึ้นมา ในระดับที่จริงจังขึ้น แต่อีกฝ่ายไม่ได้อยากพัฒนาไปด้วย มันคงจะจี๊ดดดด ไม่น้อยเลยนะ 💔😣
ไม่ต้องมองไปไหนไกล แค่รับฟังเรื่องราวจากคนรอบตัว เราก็คงรับรู้ได้ว่า สถานะคนคุย เป็นความสัมพันธ์ปกติ ธรรมดา และยอดนิดยมในหมู่คนรุ่นใหม่ ที่ไม่ผูกติดเหมือน ความรักโรแมนติกแบบเดิม
ด้วยสภาพสังคม ทัศนคติ และปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คนรุ่นใหม่ มีทางเลือกมากขึ้น (Tinder ไงแก) เห็นโลกกว้างขึ้น (Social media) และต้องยอมรับว่าคนรุ่นใหม่แบกรับความกดดัน ท่ามกลางโลกที่อยู่ยากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ (#ถ้าการเมืองดี) ความรักในแบบคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ มีบ้าน มีรถ แต่งงาน มีลูกก่อน 30 คงไม่ตอบโจทย์เราอีกต่อไป
ที่มา : https://www.huffpost.com/entry/situationship-trend-dating_l_5d265138e4b0cfb596001860
อ่านบทความอื่น ๆ ของเรา
5 STEPS ใน การ ตก หลุม รัก ด้วย ประ สาท สัม ผัส ทั้ง 5
ฉัน แค่ อ่อน ไหว ไม่ ได้ อ่อน แอ : ความ อ่อน ไหว และ ความ สัม พันธ์ เป็น ของ คู่ กัน
TRIANGULAR THEORY OF LOVE ส่วน ประ กอบ ของ ความ รัก