Polyandry รัก คนเยอะ แต่รักทุกคนนะ
รัก มาก คือ รักจริงไหม?
ในสังคม ต้องยอมรับว่าการมีความสัมพันธ์แบบ Polygamy หรือ การมีคู่สมรสมากกว่าหนึ่งคน สามารถพบได้ในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก เช่น Polygyny หรือ สามีหนึ่งคนสามารถมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป แต่ทำไมต้องเป็นผู้ชายฝ่ายเดียวล่ะ ทำไมเป็น ภรรยามีสามีหลายคนบ้างไม่ได้ (ที่ว่ามาไม่ใช่แค่เรื่องสมมติ แต่ผู้หญิง ก็สามารถมีสามีหลายคนได้จริง เรียกว่า Polyandry คือวัฒนธรรมการแต่งงานที่ ผู้หญิงสามารถมีสามีได้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป
หากเรามองในมุมที่ปราศจากอคติ ที่ยึดเอาวัฒนธรรมตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Ethnocenterism) การที่ผู้หญิงจะคบผู้ชายหลายคน อาจเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม เพราะผู้หญิงไม่ควรมักมาก แต่หากเรามอง โดยใช้แว่นคู่เดียวกับเจ้าของวัฒนธรรมนั้น ตามหลักวัฒนธรรมสัมพันธ์ (Cultural Relativism) เพื่อ ที่จะเข้าใจถึงความแต่ต่างในวัฒนธรรม เราจะพบว่าการแต่งงานแบบมีสามีหลายคน เป็นเรื่องธรรมชาติ
Polygynyหรือการมีภรรยาหลายคน สามารถพบได้ในหลายวัฒนธรรม ทำให้เกิดค่านิยม ว่าการที่ผู้หญิงมีสามีหลายคนนั้นถือเป็นเรื่องที่ผิดจารีตประเพณี หรือ ไร้อารยธรรม ทำให้ วัฒนธรรมที่ผู้หญิงสามารถมีสามีหลายคนได้ถูกปฏิเสธโดย ผู้นำประเทศ ชนชั้นปกครอง หรือ ผู้คนในหลายสังคมปัจจุบัน ซึ่งในอนาคต กระแสการแต่งงานเพศเดียวกัน ซึ่งเริ่มเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศมากขึ้น ก็อาจกระตุ้นให้เกิดความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ได้เช่นกัน
Polyandry ในสังคมปัจจุบัน
วัฒนธรรมการแต่งงานโดยมีสามีมากกว่าหนึ่งคน ในสังคมปัจุบัน มักพบได้ตามภูมิประเทศที่มีโครงสร้างทางสังคมที่เรียบง่าย ไม่มีระบบรัฐบาล หรือ ราชการที่ชัดเจน มีการแบ่งชนชั้นในสังคมที่ไม่ซับซ้อน โดย วัฒนธรรมการแต่งงานโดยมีสามีมากกว่าหนึ่งคน มักพบได้มากในประเทศ แถบอเมริกาใต้ เนปาล อินเดียตอนเหนือและใต้ ธิเบต ฯลฯ
ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าทำไมรูปแบบความสัมพันธ์แบบนี้จึงเกิดขึ้นในหลายที่ทั่วโลก ซึ่ง แต่ละที่ก็จะมีเหตุผลต่างกันไป แต่ การแต่งงานโดยมีสามีหลายคนส่วนใหญ่มักเกิดในสังคมที่มีการดำรงชีพด้วยการเกษตรกรรม
ใน ประเทศธิเบต ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงชัน ที่ดินสำหรับเพาะปลูกน้อย ขาดความอุดมสมบูรณ์และอากาศที่หนาวเย็น ทำให้การเพาะปลูก หรือ การทำเกษตรกรรมเป็นเรื่องที่ยาก ทำให้เกิดปัญหาเรื่อง อาหารขาดแคลน ความอดอยากสูง อัตราการตายของทารกสูงมาก จึงทำให้เกิดการเกิดวัฒนธรรมการแต่งงานแบบ Fraternal Polyandryขึ้น
Fraternal Polyandry รักพี่ไม่ต้องเสียดายน้อง
Fraternal Polyandryหรือ การที่ผู้หญิงออกจากครอบครัวของตัวเอง มาแต่งงานเข้าบ้านผู้ชาย โดยมีสามีมากกว่าหนึ่งคน และ สามีทุกคนนั้นเป็นพี่น้องหรือญาติกัน โดยจะมาจากพ่อหรือแม่เดียวกันหรือไม่ก็ได้ แต่ การแต่งงานแบบนี้ไม่ได้เกิดจากความต้องการเชิงชู้สาวหรือความมักมาก แต่ เป็นการปรับตัวทางโครงสร้างสังคมเพื่อเพิ่มอัตราความอยู่รอดตามสภาพที่ทรัพยากรมีจำกัด
ที่ธิเบตนี้ มีความเชื่อกันมานานแล้วว่าหากลูกชายทุกคนอยู่เป็นครอบครัวเดียวกัน เป็นการสร้างความมั่นคงทั้งต่อทรัพย์สมบัติ ภรรยา และลูกๆ โดยพี่น้องฝ่ายชายจะแบ่งที่ดินที่มีกัน และมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันอย่างชัดเจน
กรณีที่สามี (พี่ชายคนโตซึ่งเป็นคนที่มีบทบาทมากที่สุดในครอบครัว) ต้องออกเดินทางไกล เพื่อค้าขาย หรือ เดินทางกับคณะคาราวาน น้องชายที่เหลือก็ยังคงสามารถคอยดูแลที่ดิน เกษตรกรรม ส่วนน้องคนอื่นก็สามารถดูแลภรรยา และลูกอยู่ที่บ้านได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้ประชากรส่วนใหญ่ต้องการลูกผู้ชายมากกว่าลูกผู้หญิง เพื่อที่จะผลิตแรงงานให้มากขึ้น สืบทอดที่ดินที่มีค่า และสมบัติของครอบครัวต่อไป
กลับกัน Monogamy หรือการแต่งงานที่มีคู่เพียงคนเดียว กลับไม่เป็นที่นิยมนักในธิเบต ณ พื้นห่างไกลแห่งนี้ เพราะอาจเกิดเหตุสุดวิสัยได้ เช่น ครอบครัวนั้นมีลูกได้เพียงคนเดียว
ไม่ใช่ต้องการ แต่ต้องรอด
นักมนุษย์ศาสตร์หลายคนให้เหตุผลของการแต่งงานแบบ Fraternal Polyandryว่าเป็นการควบคุมประชากร ให้สมดุลเพื่อความอยู่รอดตามขนาดของจำนวนประชากร ภูมิประเทศ และอัตราส่วนของจำนวนประชากรชาย และ หญิงในสังคม
การที่ภรรยาคนเดียวมีสามีหลายคนช่วยลดจำนวนประชากรเกิดใหม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากครอบครัวหนึ่งมีลูกชาย 4 คน ในหนึ่งปีลูกชาย 4 คนนั้น สามารถมีลูกได้ครอบครัวละหนึ่งคน ปู่ย่าตายาย จะมีลูก 4 คน และหลานอีก 4 คนในหนึ่งปี แต่หาก ภรรยาหนึ่งคนมีสามีหลายคน ภรรยาจะตั้งท้องได้แค่ประมาณปีละหนึ่งครั้ง ปู่ย่าตายาย จะมีลูกสี่คนและหลานเพิ่มอีกเพียงหนึ่งคนเท่านั้น
เพื่อป้องกันการประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร และ ประชากรล้นประเทศ การควบคุมประชากรไม่ให้เพิ่มขึ้นจนเกินกว่าทรัพยากรที่มีจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในสังคมที่สามารถผลิตอาหารได้ยาก มีทรัพยากรจำกัด และ ห่างไกลความเจริญ
อย่างไรก็ตาม แม้การมีคู่สมรสมากกว่าหนึ่งคนอาจจะเป็นที่ยอมรับในหลายวัฒนธรรม แต่ในมุมมองของสังคมที่เราไม่เข้าใจ มันอาจจะเป็นเรื่องทั่วไปก็ได้ มันไม่สำคัญเลยว่าเพศไหนได้สิทธิพิเศษเหนือใคร ความสัมพันธ์นั้นเป็นเรื่องปัจเจกบุคคลที่ละเอียดอ่อน หากคนมากกว่าสองคนสมัครใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล และ ความรับผิดชอบของเจ้าของความสัมพันธ์นั้นๆ ไม่ใช่เรื่องของคนนอกที่ตัดสินจากทัศนคติของตนเอง
แหล่งข้อมูล:
https://www.theatlantic.com/health/archive/2013/02/when-taking-multiple-husbands-makes-sense/272726/
https://www.psychologytoday.com/us/blog/pura-vida/201603/polyandry-one-woman-many-men
https://www.thoughtco.com/polyandry-in-tibet-3528444
#wmtd #relationship #polygyny #polygamy #polyandry